วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จุดเริ่มต้นของรถไฟไทย 2

     ในปี พ.ศ. 2471 กรมรถไฟหลวงได้นำหัวรถจักรดีเซลรุ่นแรก ยี่ห้อ S.L.M. Winterthur มีกำลัง 180 แรงม้า รุ่นเลขที่ 21 - 22 จำนวน 2 คัน จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์มาใช้งาน โดยใช้เป็นรถจักรลากจูงสับเปลี่ยนทำขบวนรถไฟและลากจูงขบวนรถท้องถิ่นรอบๆ กรุงเทพฯ  (ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียอาคเนย์ที่นำรถจักรดีเซลมาใช้งาน) 


     ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการรถไฟประสบภัยสงครามอย่างหนักทรัพย์สินทั้งทางอาคาร  และรถจักรล้อเลื่อน ได้รับความเสียหายมากจำต้องเร่งบูรณะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม โดยเร็วถ้าจะอาศัย เงินลงทุนจากงบประมาณของรัฐแหล่งเดียวจะไม่ทันการณ์ รัฐบาลจึงต้องขอกู้เงินจาก ธนาคารโลกมาสมทบในระหว่างการเจรจากู้เงินนั้น ทางธนาคารโลกได้เสนอให้รัฐปรับปรุง  องค์กรของกรมรถไฟหลวงให้มีอิสระกว่าที่เป็นอยู่    เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารกิจการในเชิงธุรกิจกรมรถไฟหลวง    จึงได้เปลี่ยนฐานะมาเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปการ  ภายใต้ชื่อว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.  2494 เป็นต้นมา  โดยดำเนินการอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การรถไฟฯ ฉบับ พ.ศ. 2494 มีพลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยคนแรก จนมาถึงคนปัจจุบัน คือนายยุทธนา ทัพเจริญ 
     ปัจจุบัน การรถไฟฯได้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยาน หรือ Airport Rail Link ซุึ่งเป็นรถไฟฟ้าที่ใช้การรับพลังไฟฟ้าจากสายส่งเหนือหัว ซึ่งเป็นรูปแบบปัจจุบันของรถไฟที่ถือว่าทันสมัยและตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะได้มีโอกาสอธิบายแบบละเอียดในคราวต่อไปครับ 
Writer : Kritsada Chintanachot

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น